วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558


พหุนาม คือ อะไร
พหุนาม (Polynomial) คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนอยู่ในรูปเอกนามหรือผลบวกของบวกหรือการลบของเอกนามตั้งแต่ 2 เอกนามขึ้นไป

พหุนาม = เอกนาม1 + เอกนาม2 + เอกนาม3 + ... เอกนามn 

ตัวอย่าง
พหุนาม
เกิดจาก
a + 2
2 เอกนามบวกกัน
x + xy
2 เอกนามบวกกัน
x2 - 3x + 4
เกิดจาก 3 เอกนามบวก-ลบกัน
x2 + xy – y2 + 1
เกิดจาก 4 เอกนามบวก-ลบกัน


 ดีกรีหรือกำลังของพหุนาม  ให้เอาดีกรีสูงสุดของเอกนามเป็นดีกรีของพหุนาม
ตัวอย่าง

พหุนาม
ดีกรีของพหุนาม
ดูจาก
x3 +5x2
3
x3
x4 +x2 -4
4
x4
4 – x4 + x5
5
x5
xy – 8
2
xy
x2y – 5x2
3
x2y
x5 + x4y3
7
x4y3
 a2b + 4ab2 - a2b2
4
a2b2



ตัวอย่างการคำนวณตัวอย่างชุดที่ 1  การบวกพหุนาม ใช้หลักการ นำเอกนามที่เหมือนกันมาบวกกัน

1) (a + 7) + (3a – 4)
    = a + 7 + 3a – 4
    = 4a – 3
2) (5a +b) + (a –b)
    = 5a +b +a –b
    = 6a
3) (6a2 + 3) + (a – 2a2)
   = 6a2 +3 -a –2a2
   = 4a2 –a +3
4) (x2 +5x –7) + (2x2 –x +10)
  = x2 +5x –7 + 2x2 –x +10
  = 3x2+4x +3
5) (x3 + x2 -4) + (x3 +7x2 -5x)
  = x3 + x2 -4 + x3 +7x2 -5x
  = 2x3 + 8x2 -5x -4
6) (x + 6y) + (2x – 8y) + (5x + y)
  = x + 6y + 2x – 8y + 5x + y
  = 8x - y

สมบัติที่ต้องทราบเพิ่มเติม คือ
  1) a(b + c) = ab + ac  เรียกว่า สมบัติการแจกแจงหรือการกระจาย
  2) -(a - b) = -a + b

ตัวอย่างชุดที่ 2  การลบพหุนาม


1) (5x – 3) – (2x –7)
  = 5x –3 –2x +7
  = 3x + 4
2) (2x –y) – (5x –y)
  = 2x –y –5x +y
  = -3y
3) 4(x +1) -2(x +5)
  = 4x +4 –2x –10
  = 2x –6
4) 3(x2 -2x -4) – (x2 -5x +7)
  = 3x2 -6x –12 –x2 +5x -7
  = 2x2 -x -19
5) -5(x3 –7x) +6(x2 +5) – (–9x3 +4x2)
  = -5x3 +35x +6x2 +30 +9x3 –4x2
  = 4x3 +2x2 +35x +30
6) (11x3 +5x2 -8x –15) – 5(2x3 +x2 -4x -3)
  = 11x3 +5x2 -8x –15 –10x3 -5x2 +20x +15
  = x3 +12x


การคูณเอกนามกับพหุนาม  หลักการ ใช้สมบัติการแจกแจงมาใช้ด้วยตัวอย่างที่ 1
1) 2(x +4) = 2x +82) 3(x –2y +1) = 3x –6y +3
3) -7(x2 + 3xy -4)
  = -7x2 -21xy + 28
4) -5(2x3 +8x2 –x +4)
   = -10x3 -40x2 +5x -20
5) 2(x -7) + 3(x +2y)
   = 2x –14 +3x +6y
   = 5x +6y –14
6) 5(x –4) -2(x+7)
   = 5x –20 -2x -14
   = 3x -34
7) (10a -5) – (b -5)
   = 10a –5 –b +5
   = 10a –b
8) 5m –2(3n +8m)
   = 5m -6n –16m
   = -11m –6n
9) -4(a +2b -C) + 2(a -5b -2c)
   = -4a –8b +4c +2a -10b -4c
   = -2a –18b
10) 3(x3 +x2 -2) -2(x3 +x2 +4)
   = 3x3 +3x2 -6 –2x3 -2x2 -8
   = x3 + x2 -14
11) 7(x2 +3xy + 4x2y) –7(x2 –5xy + x2y)
  = 7x2 +21xy + 28x2y –7x2 +35xy –7x2y
  = 56xy + 21x2y

ตัวอย่างชุดที่ 2
1) x(x2 + 2x -1) = x3 + 2x2 – x
2) x2(x2 – x – y) = x4 – x3 –x2y
3) 2x(x5 + 3) = 2x6 + 6x
4) 3y2(y2 + y - 5) = 3y4 + 3y3 -15y2
5) -2x3(x2 + 5xy – y) = -2x5 – 10x4y +2x3y
6) xy(x2 + xy – y3) = x3y + x2y2 – xy4
7) a2b2(a2 + a2b3 – b4) = a4b2 a4b5 – a2b6
8) -6ab5(a +4a2b – 2b) = -6a2b5 -24a3b6 +12ab6

การคูณพหุนามกับพหุนาม  หลักการที่นำมาใช้คือ (a +b)(x +y) = a(x +y) + b(x +y) = ax +ay +bx +byตัวอย่างชุดที่ 3
1) (x +3)(x +5)
  = x(x +5) +3(x +5)
  = x2 +5x +3x +15
  = x2 +8x +15
2) (x -7)(x+7)
  = x(x +7) -7(x+7)
  = x2 +7x -7x -49
  = x2 –49
3) (2x +3)(x -1)
  = 2x(x-1) +3(x-1)
  = 2x2 -2x +3x -3
  = 2x2 +x –3
4) (x2 +4)(x -3)
  = x2(x-3) +4(x-3)
  = x3 –3x2 +4x -12
5) (x2 +4)(x2 -6)
  = x2(x2 -6) +4(x2 -6)
  = x4 -6x2 + 4x2 -24
  = x4 -2x2 -24
6) (x +3)(x +y -3)
  = x(x +y -3) +3(x +y -3)
  = x2 +xy -3x +3x +3y –9
  = x2 +xy + 3y – 9
7) (ab +4)(a +3)
  = ab(a + 3) +4(a +3)
  = a2b +3ab +4a + 12
8) (a2 +b)(a2 -b)
  = a2(a2 -b) +b(a2 -b)
  = a4 –a2b +a2b –b2
  = a4 –b2
9) (a -5)(a2 –a +8)
  = a(a2 –a +8) -5(a2 –a +8)
  = a3 –a2 +8a -5a2 +5a - 40
  = a3 -6a2 +13a -40

10) (a -1)(a +2)(a -3)
= {a(a+2) –(a+2)}(a-3)
= {a2 + 2a –a -2}(a-3)
= (a2 +a -2)(a -3)
= (a2 +a -2)(a) + (a2 +a -2)(-3)
= a3 +a2 -2a -3a2 -3a +6
= a3 -2a2 -5a +6

การหารพหุนาม
   การหารพหุนามมีแนวคิดและทำคล้ายกับการคูณและหารเศษส่วน คือ ใช้หลักการว่า


ตัวอย่างชุดที่ 1


ตัวอย่างชุดที่ 2  ใช้ความรู้เรื่องเลขยกกำลังมาใช้ร่วมกันกับการแยกเศษส่วน



ตัวอย่างชุดที่ 3 ใช้หลักการหารที่ว่า
เศษส่วนที่มีเครื่องหมายหารอยู่ด้านหน้าให้เปลี่ยนเครื่องหมายหารเป็นคูณ และสลับเศษส่วน




ตัวอย่างชุดที่ 4  ใช้การแยกตัวประกอบมาร่วมด้วย


 การหารพหุนามด้วยวิธีการตั้งหารยาว

 แนวคิด มีวิธีการคล้ายกับการตั้งหารตัวเลขทั่วไป โดยที่
รูปแบบการหารของตัวเลขปกติ คือ
  m = nq + r    โดยที่
 m คือตัวตั้ง
 n คือตัวหาร
 q คือผลหาร
 r คือเศษ
รูปแบบ การหารของพหุนาม คือ
   P(x) = N(x)Q(x) + R(x)  โดยที่
 P(x) คือพหุนามที่เป็นตัวตั้ง
 N(x) คือพหุนามที่เป็นตัวหาร
 Q(x) คือพหุนามที่เป็นที่เป็นผลหาร
 R(x) คือพหุนามที่เป็นที่เป็นเศษ

ตัวอย่างที่ 1
ลองมาหาร  x3 -4x -3x2 +12 ด้วย x + 2  กันครับ
วิธีทำ เมื่อจัดเรียงกำลังของตัวแปรจากมากไปหาน้อย
  จะได้ตัวตั้ง เท่ากับ   x3 -3x2 -4x +12

ขั้นตอนการหาร
อธิบายขั้นตอน
เขียนพหุนามให้อยู่รูปของการหารยาว โดยตัวตั้งอยู่ในเครื่องหมายหาร และตัวหารอยู่ด้านหน้าเครื่องหมาย
กำจัดพจน์ที่อยู่หน้าสุด คือ x3 โดยนำ (x + 2) คูณกับ x2 จะได้ x3 +2x2 เขียนผลคูณที่ได้ ไว้ด้านล่าง ให้พจน์ที่เหมือนกันอยู่ตรงกัน แล้วทำการลบ เขียนผลที่ได้คือ -5x2 ด้านล่าง พร้อมกับนำพจน์ถัดไปลงมาเขียนต่อท้าย คือ -4x
กำจัดพจน์ที่อยู่หน้าสุด คือ -5x2 โดยนำ (x + 2) คูณกับ -5x จะได้ -5x2 -10x เขียนผลคูณที่ได้ ไว้ด้านล่าง ให้พจน์ที่เหมือนกันอยู่ตรงกัน แล้วทำการลบ เขียนผลที่ได้ ตือ 6x ไว้ด้านล่าง พร้อมกับนำพจน์ถัดไปลงมาเขียนต่อท้าย คือ +12
กำจัดพจน์ที่อยู่หน้าสุด คือ 6x โดยนำ (x + 2) คูณกับ 6 จะได้ 6x +12 เขียนผลคูณที่ได้ ไว้ด้านล่าง ให้พจน์ที่เหมือนกันอยู่ตรงกัน แล้วทำการลบ ปรากฏว่า ได้ผลลบ เท่ากับ 0

จะได้ว่า
 ตัวตั้ง P(x) คือ x3 -3x2 -4x +12
 ตัวหาร N(x) คือ x+2
 ผลหาร Q(x) คือ x2 -5x +6
 เศษ R(x) คือ 0
 เป็นการหารที่ลงตัว


ตัวอย่างที่ 2
ลองมาหาร  4x4 -6x3 +x +3  ด้วย 2x2 + 2  กันครับ
วิธีทำ จะพบว่ากำลังของตัวแปรบางตัวหายไป


ขั้นตอนการหาร
อธิบายขั้นตอน
เขียนพหุนามให้อยู่รูปของการหารยาว โดยตัวตั้งอยู่ในเครื่องหมายหาร และตัวหารอยู่ด้านหน้าเครื่องหมาย  พจน์ที่ขาดหายคือ x2 ไปให้นำมาเขียนด้วยโดยเติม 0 ไว้ด้านหน้า
กำจัดพจน์ที่อยู่หน้าสุด คือ 4x4 โดยนำ (2x2 + 3) คูณกับ 2x2 จะได้ 4x4 +6x2 เขียนผลคูณที่ได้ ไว้ด้านล่าง ให้พจน์ที่เหมือนกันอยู่ตรงกัน แล้วทำการลบ เขียนผลที่ได้คือ -6x2 ด้านล่าง พร้อมกับนำพจน์ถัดไปลงมาเขียนไว้ด้านหน้า คือ -6x3
กำจัดพจน์ที่อยู่หน้าสุด คือ -6x3 โดยนำ (2x2 + 3) คูณกับ -3x จะได้ -6x3 -9x เขียนผลคูณที่ได้ ไว้ด้านล่าง ให้พจน์ที่เหมือนกันอยู่ตรงกัน แล้วทำการลบ เขียนผลที่ได้ ตือ -10x ไว้ด้านล่าง พร้อมกับนำพจน์ถัดไปลงมาเขียนไว้ด้ารหน้า คือ -6x2
กำจัดพจน์ที่อยู่หน้าสุด คือ -6x2 โดยนำ (2x2 + 3) คูณกับ -3 จะได้ -6x2-9 เขียนผลคูณที่ได้ ไว้ด้านล่าง ให้พจน์ที่เหมือนกันอยู่ตรงกัน แล้วทำการลบ ปรากฏว่า ได้ผลลบ เท่ากับ 10x +12 ซึ่งไม่สามารถหารต่อไปได้ เพราะกำลังของตัวหารคือ 2x2 + 3 มากกว่ากำลังตัวหารคือ 10x+12

จะได้ว่า
 ตัวตั้ง P(x) คือ 4x4 -6x3 +x +3
 ตัวหาร N(x) คือ 2x2 + 3
 ผลหาร Q(x) คือ 2x2 -3x -3
 เศษ R(x) คือ 10x +12
 เป็นการหารที่ไม่ลงตัว




 



ในหัวข้อนี้เราจะมาศึกษาและทำความรู้จักกับเอกนาม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งในการเรียนคณิตศาสตร์
 เอกนาม คือ อะไร
 
เอกนาม (Monomial) คือ นิพนธ์ที่เป็นผลคูณระหว่างตัวเลขหรือค่าคงที่และตัวแปรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปและกำลังของแต่ละตัวแปรนั้นไม่น้อยกว่า 0 (มากกว่า หรือ เท่ากับ 0) ซึ่งอยู่ในรูปแบบ

เอกนาม = ค่าคงตัว (ตัวเลขใดๆ) x ตัวแปร (ที่มีเลขชี้กำลังเป็น 0 หรือจำนวนเต็มบวก)
 
ตัวอย่าง  3x อ่านว่า สามเอ็กซ์ หมายถึง 3×x
 -5y อ่านว่า ลบห้าวาย หมายถึง -5×y
 xy อ่านว่า เอ็กซ์วาย หมายถึง x×y
 x2y อ่านว่า เอ็กซ์กำลังสองวาย หมายถึง x×x×y
 xy2z3 อ่านว่า เอ็กซ์วายกำลังสองแซดกำลังสาม หมายถึง x×y×y×z×z×z
 0.6ab4 อ่านว่า ศูนย์จุดหกเอบีกำลังสี่ หมายถึง 0.6×a×b×b×b×b

หมายเหตุ1) นิพจน์ (Expression) คือ ข้อความในรูปสัญลักษณ์ เช่น 8, 9a, -4x + 7, a +2b – 3 ฯลฯ
2) 5 เป็นเอกนามตัวด้วย เพราะเราเขียน 5 ในรูปที่มีตัวแปรได้ คือ 5x0  (x0 = 1)
3) นิพนธ์ที่ไม่เป็นเอกนาม เช่น
  xy-3 ไม่เป็นเอกนามเพราะ  y มีกำลังติดลบ
 ไม่เป็นเอกนามเพราะเอกนามที่มีตัวแปรอยู่ในรูปเศษส่วนที่กำลังเป็นบวก
4) สัมประสิทธิ์ของเอกนาม คือ ค่าคงที่ที่อยู่หน้าตัวแปร
5) ดีกรีของเอกนาม คือ ผลบวกของเลขชี้กำลังทั้งหมดตัวของแปร
6) a = 1×a   (ตัวแปรใดที่ไม่เห็นตัวเลข ให้คิดว่ามี 1 คูณอยู่ด้านหน้า)
7) x = x1    (ตัวแปรใดที่ไม่เห็นกำลัง ให้คิดว่ามีกำลังเท่ากับ 1)
ตัวอย่าง
 เอกนาม
สัมประสิทธิ์
ดีกรี
3
3
0 (มาจาก3x0)
5x
5
1 (มาจาก5x1)
-y2
-1
2
3xy
3
2 (1+1)
4x2y
4
3 (2+1)
0.5ab3
0.5
4 (1+3)
-6a4b2
-6
6 (4+2)
 11a3bc5
11
 9 (3+1+5)

 
                                                                                    

 เอกนามคล้าย  คือ  เอกนามที่มีตัวแปรชุดเดียวกัน และเลขชี้กำลังของตัวแปรเดียวกันในแต่ละเอกนามเท่ากัน
ตัวอย่าง
2xy คล้ายกับ 7xy
-7xy2 คล้ายกับ xy2
4x3y คล้ายกับ –x3y
xy คล้ายกับ yx
abc คล้ายกับ cba
2ab5  คล้ายกับ -2ab5
6a3b2c คล้ายกับ 9a3cb2
xy ไม่คล้ายกับ xy2
3xyz2 ไม่คล้ายกับ 3xy2z
3a2 ไม่คล้ายกับ 3b2


ตัวอย่างการคำนวณ
ตัวอย่างชุดที่ 1 การบวก – ลบเอกนามที่คล้ายกัน
1) 4a + a = 5a
2) 2a + 7a = 9a
3) 8b + 5b = 13b
4) 6x + 4x = 10x
5) 4x – x = 3x
6) 7ab - 3ab = 4ab
7) x2 + 2x2 – 3x2 = 3x2 – 3x2 = 0
8) 9a2b - 4a2b + a2b = 5a2b+a2b = 6a2b
ตัวอย่างชุดที่ 2 การบวก – ลบเอกนามที่คล้ายกัน
1) 2a + 3 + a – 7 = 3a – 4
2) 7a – 5a + 8a – 2 = 10a - 2
3) x + 6 – 4x = -3x + 6
4) 6c + 3a -5c = 3a + c
5) 5x2 + 3x – 2x2 -9x = 3x2 -6x
6) 8x2 + 5 –2x2 + 5x = 6x2 +5x + 5
7) 3x2y + 5x2 – 6x2 +2x2y = 5x2y – x2   
8) 4y3 - x2y – 6y3+5x2y + 2x2 = 2x2+4x2y–2y3
การคูณเอกนาม  เอกนามสามารถคูณกันได้ด้วยหลัการการนี้
ผลคูณของเอกนาม = (ผลคูณของสัมประสิทธิ์)×(ผลคูณของตัวแปรแต่ละตัว)


ในการคูณแปรตัวนี้เรานำสมบัติเรื่องของการคูณเลขยกกำลังใช้ด้วยคือ
1) am × an = am+n
2) (am)n = am×n
3) (ab)n = anbn
4) a1 = a


ตัวอย่างชุดที่ 3 การคูณเอกนาม
1) a3×a×a5 = a3+1+5 = a9
2) -5a3×2a2 = [-5×2]×a3+2 = -10a5
3) (2x)(-4x2)(x3) = [2×(-4)][x1+2+3] = -8x6
4) (x2y)(x3y2)(y5) = x2+3y1+2+5 = x4y8
5) -2m5×(7m2n)x(-5n8) = 70m7n9
6) (3x5)3 = (3x5)×(3x5)×(3x5) = 27x15
7) (-2xy2)4 = (-2xy2)×(-2xy2)×(-2xy2)×(-2xy2) = 16x4y8
8) (-3m4n2)3 = -27m12n6


การหารเอกนาม
เอกนามสามารถหารกันได้ด้วยหลัการการนี้

ผลหารของเอกนาม = (ผลหารของสัมประสิทธิ์)×(ผลหารของตัวแปรแต่ละตัว)


ในการคูณแปรตัวนี้เรานำสมบัติเรื่องของการคูณเลขยกกำลังใช้ด้วยคือ

ตัวอย่างชุดที่ 4 การหารเอกนาม
  เมื่อ a, x และ y เป็นตัวเลขที่ไม่เท่ากับ 0